Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้59
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้359
mod_vvisit_counterเดือนนี้359
mod_vvisit_counterทังหมด3971188

กำลังเข้าชม 3
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา

Antibiotics Smart Use ใช้ยาสมเหตุผล ไม่จน ไม่แพ้ ไม่ดื้อยา

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

“หวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ”

คำถาม

ยาที่ผู้ใหญ่มักให้เรากินเวลาที่เราเป็นหวัดเจ็บคอ มียาอะไรบ้าง แล้วพวกเรารู้ไหมว่า ยาแต่ละอย่างต่างกันอย่างไร?

คำตอบ

อย่างแรก คือ ยาลดไข้ แก้ปวด เช่น พาราเซตามอล กินเฉพาะเมื่อเป็นไข้หรือปวดหัว ถ้าไม่มีไข้ ไม่ปวดหัว ไม่ต้องกิน ห้ามใช้แอสไพรินในเด็กที่เป็นไข้หวัดเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง

อย่างที่ 2 คือ ยาแก้คัดจมูก ถ้าไม่คัดจมูก ไม่ต้องกิน

ถ้ามีน้ำมูกหรือน้ำมูกไหล ควรเช็ดหรือล้างรูจมูกด้วยน้ำสะอาด ไม่ควรกินยาแก้แพ้เพื่อลดน้ำมูก เพราะจะทำให้น้ำมูกหรือเสมหะข้นเหนียวสั่งออกยาก ทำให้หายใจลำบากมากขึ้น

อย่างที่ 3 ยาปฏิชีวนะ ที่มักเรียกผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ ยาปฏิชีวนะเป็นยาอันตรายและมักมีการใช้อย่างผิด ๆ โดยเฉพาะในโรคหวัดเจ็บคอ ยากลุ่มนี้ เช่น เพนนิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน

คำถาม ยาแก้อักเสบกับยาปฏิชีวนะ เหมือนกันหรือเปล่า?

คำตอบ

ไม่เหมือนกัน แต่คนจำนวนมากเข้าใจผิดและเรียกสับสน ทำให้ใช้ยาผิด

ยาแก้อักเสบ (ยาต้านการอักเสบ Anti-inflammatory drugs) เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดไข้ แก้ปวด ลดบวมอักเสบ โดยไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ตัวอย่างเช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์แก้อักเสบโดยตรง ตัวอย่างเช่น เพนนิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน

คนส่วนใหญ่มักเรียกผิดว่า ยาปฏิชีวนะ เป็น ยาแก้อักเสบ เพราะเมื่อติดเชื้อแบคทีเรียแล้วกินยาปฏิชีวนะ ยาจะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง เมื่อเชื้อตายไปอาการคออักเสบ (เจ็บคอ คอแดง เป็นหนอง) จะลดลงเองโดยอัตโนมัติ คนจึงมักเรียกผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ

การเรียก ยาปฏิชีวนะ ว่ายาแก้อักเสบ จึงทำให้เข้าใจผิด และใช้ยาผิดประเภท เพราะคิดว่าเมื่อมีคออักเสบ ไม่ว่าจะจากสาเหตุใด (เช่น เชื้อไวรัส หรือภูมิแพ้) ต้องใช้ยานี้ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ควรใช้

คำถาม

เป็นหวัด เจ็บคอ มีไข้ จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะทุกครั้ง ถูกต้องหรือไม่?

คำตอบ

ไม่ถูกต้องและเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล เพราะอาการเจ็บคอ เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ

1. เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ)

2. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ)

เด็กที่เป็นหวัดเจ็บคอส่วนใหญ่เป็นเพราะติดเชื้อไวรัส การกินยาปฏิชีวนะ จึงไม่ทำให้หายป่วย เพราะยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไวรัสไม่ได้ และยังมีโอกาสเสี่ยงอันตรายจากผลข้างเคียงของยาต่อร่างกายด้วย


คำถาม

จะรู้ได้อย่างไรว่า ติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย?

คำตอบ

anti01.jpg

anti02.jpg

ดูจากภาพนี้ ทางขวามือเป็นการติดเชื้อไวรัส (ซึ่งพบบ่อยกว่า) เจ็บคอส่วนใหญ่ (ใน 10 ราย) เกิดจากเชื้อไวรัสมีอาการต่อมทอนซิลบวมแดง คอแดง ซึ่งทำให้เจ็บคอ อาจมีอาการไอร่วมด้วย ถ้าเป็นแบบนี้ ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะก็หายได้

ส่วนภาพซ้ายมือ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย (ซึ่งพบน้อยกว่า) จะเห็นว่านอกจากคอแดง ต่อมทอลซิล บวมแดง และเจ็บคอแล้ว ยังมีข้อแตกต่างคือ มีจุดหนองที่ต่อมทอลซิล มีฝ้าสีเทาที่ลิ้น และมักคลำพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้ขากรรไกรโตด้วย และจุดแตกต่างที่สำคัญที่สังเกตได้ง่าย คือ มักไม่มีอาการไอ

คำถาม

หวัดเจ็บคอจากเชื้อไวรัส รักษาอย่างไร?

คำตอบ

เด็ก ๆ ทุกคนมีภูมิต้านทานของร่างกายที่เอาชนะเชื้อวรัสได้อยู่แล้ว แต่ในช่วงที่ไม่สบาย เราอาจมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ไอ มีน้ำมูกหรือเสมหะ และรู้สึกเพลีย

ในช่วงเวลานี้ “พระเอกภูมิต้านทาน” กำลังต่อสู้กับเชื้อไวรัสอยู่ ส่วนยาแก้คัดจมูก และยาลดไข้ คือ “ผู้ช่วยพระเอก” ที่จะทำให้เราทุเลาอาการเหล่านี้ จนกว่าพระเอกจะปราบผู้ร้ายเชื้อไวรัสได้หมด ซึ่งมักใช้เวลา 3-4 วัน เป็นอย่างน้อย

คำถาม

หวัดเจ็บคอจากเชื้อไวรัส หายเองได้จริงหรือ?

คำตอบ

ขณะที่ “พระเอกภูมิต้านทาน” กำลังสู้กับ “ผู้ร้ายเชื้อไวรัส” คุณแม่หรือผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กอย่างพวกเรา คือ “นางเอกคนสำคัญ” เพราะว่าจะต้องดูแลเรามากกว่าปกติ ด้วยการเช็ดตัวลดไข้ จัดยาที่จำเป็นและหาอาหารย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก ให้เรากิน รักษาบริเวณลำคอของเราให้อบอุ่นและให้เราดื่มน้ำมาก ๆ

นอกจากนี้ การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือระคายหรือระคายเคืองของเราได้

การทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ภูมิต้านทานร่างกายของเราแข็งแกร่ง เพียงไม่กี่วันเชื้อวรัสหวัดก็ต้องล่าถอยไปเอง

คำถาม

น้ำมูกหรือเสมหะสีเขียวเหลือง แปลว่า ต้องกินยาปฏิชีวนะใช่หรือเปล่า?

คำตอบ

ไม่ใช่ เพราะการมีน้ำมูกหรือเสมหะข้นและเป็นสีเหลือหรือเขียวเพียงประการเดียว ไม่ด้แปลว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือมีอาการแย่ลง

โรคหวัดในระยะใกล้หาย เราจะมีอาการดีขึ้น ปริมาณน้ำมูกจะลดลง แต่ลักษณะของน้ำมูกจะข้นขึ้น และอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียวโดยเฉพาะในตอนเช้า ซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่เป็นลักษณะอาการของโรคหวัดตามปกติ จึงไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ

นอกจากนี้ คนที่เป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มักจะไอนานเป็นสัปดาห์และมีเสมหะสีเขียวเหลืองได้ โดยไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ดังนั้นการมีน้ำมูกหรือเสมหะสีเขียวเหลืองไม่ได้แปลว่าต้องกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งไป

คำถาม

กินยาปฏิชีวนะ “เผื่อ” ไว้ก่อน ไม่ดีหรือ?

คำตอบ ไม่ดีแน่นอน ไม่ควรทำเป็นอันขาด

ถ้าเราเป็นหวัดจากเชื้อไวรัส แล้วไปกินยาปฏิชีวนะซึ่งมีไว้ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เราจะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ เลย แต่จะได้รับโทษหรือเสี่ยงอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

อันตรายจากยาปฏิชีวนะอย่างแรก คือ การแพ้ยา

อันตรายประการที่สอง คือ เชื้อดื้อยา

คำถาม

แพ้ยาปฏิชีวนะ มีอันตรายอย่างไร?

คำตอบ

ผู้ที่แพ้ยาอาจมีผื่นขึ้น ถ้าแพ้ยารุนแรง อาจทำให้หายใจไม่ออก ผิวหนังหลุดลอกทั่วตัว เม็ดเลือดแดงแตก ตับอักเสบ เป็นต้น

เด็ก ๆ ลองอ่านที่ข้างกล่องยาปฏิชีวนะ ดูจะเห็นคำเตือนว่าเป็น “ยาอันตราย” และเตือนว่ายานี้อาจทำให้เกิดการแพ้ และอาจเป็นอันตรายถึงตายได้

วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะแพ้ยา คือ

ใช้ยาเท่าที่จำเป็น ไม่ใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ

ถ้าเราเคยแพ้ยาใด เราควรจำชื่อยานั้นให้ได้ หรือจดชื่อยาพกไว้กับตัว

บอกแพทย์หรือเภสัชกรว่าเราแพ้ยานี้ เมื่อไปรับการรักษาทุกครั้ง

ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนใช้ยาจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ยาได้

คำถาม

เชื้อดื้อยา คืออะไร?

คำตอบ

ทุกครั้งที่เรากินยาปฏิชีวนะ เชื้อแบคทีเรียที่อ่อนแอจะตายไป ส่วนที่เหลือก็จะก้าวร้าวขึ้น ดุขึ้น มีการกลายพันธุ์ หรือผลิตลูกหลานให้ทนต่อยาปฏิชีวนะ เรียกว่า “เชื้อดื้อยา” แปลว่า ยาปฏิชีวนะชนิดนี้ใช้กับแบคทีเรียเหล่านี้ไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว

เมื่อเกิดเชื้อดื้อยา ทำให้เราต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ไปเรื่อยๆ ซึ่งยาใหม่เหล่านี้มักมีอันตรายมากกว่าและมีราคาแพงกว่ายาเดิม

คนที่กินยาปฏิชีวนะบ่อยเกินไป เชื้อโรคก็เริ่มปรับตัวสู้กับยาได้ ต่อไปเวลาเจ็บป่วย ก็ไม่มียาใดจัดการกับเชื้อโรคนั้นๆได้

คำถาม

ทำไมจึงไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง หรือแบ่งยากันกิน?

คำตอบ

คุณหมอสั่งยาปฏิชีวนะ โดยพิจารณาจากน้ำหนักตัว อายุ และอาการของคนไข้ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางการแพทย์ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด

เราไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง หรือแบ่งยาปฏิชีวนะของเราให้ผู้อื่นกินอย่างเด็ดขาด เพราะมักมีข้อผิดพลาด เช่น

ใช้ยาปฏิชีวนะในโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น กินยาปฏิชีวนะรักษาโรคหวัด ซึ่งเป็นเชื้อไวรัส

ใช้ยาที่ไม่เหมาะสมกับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ เพราะเชื้อแบคทีเรียมีหลายชนิด จึงต้องเลือกใช้ยาปฏิชีวนะให้เหมาะกับเชื้อแต่ละชนิด

ใช้ยาในขนาดต่ำหรือสูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะยาปฏิชีวนะให้เหมาะกับเชื้อแต่ละชนิด

ใช้ยาด้วยความถี่ที่ไม่ถูกต้อง เช่น ยาที่ต้องกินวันละ 3 ครั้ง แต่กินแค่วันละ 2 ครั้ง

ใช้ยาด้วยระยะเวลาที่สั้นเกินไปหรือนานเกินไปหรือนานเกินไป (ส่วนใหญ่ที่พบ คือ สั้นเกินไป เช่น ยาที่ต้องกินติดต่อกัน 10 วัน แต่กินแค่ 2-3 วัน)

ที่สำคัญ เราไม่รู้ว่าคนอื่นแพ้ยาอะไร หรือมีโรคประจำตัวอะไร การแบ่งยาของเราให้เขากิน จึงอันตรายมาก

เรียบเรียงโดย ภญ. นริศรา   ขนหงษ์

แหล่งข้อมูล แผ่นปฏิทินของ โครงการใช้ยาสมเหตุผล ไม่จน ไม่แพ้ ไม่ดื้อยา ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : klangprofit@gmail.com

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา