Get Adobe Flash player

ติดต่อ-สอบถาม

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา

Innovation through collaboration Architect & Nurse Partnership

User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด 

Innovation  through  collaboration Architect & Nurse  Partnership

ในงาน Elderly Innovation Thailand 4.0 ที่ รพ.กลาง สำนักการแพทย์

19 พฤษภาคม 2560

รศ.ดร.สิงห์  อินทรชูโต : หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์    ม.เกษตรศาสตร์

ดร.ภัทรารัตน์  ตันนุกิจ : ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล ด้านการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและคณะกรรมการดำเนินงานงานนวัตกรรม โรงพยาบาลกลาง

ทพญ.เกศรินทร์  เจริญแสงสุริยา : พิธีกร

บทความสรุปย่อ

ปีพ.ศ. 2556 ทีมนำของคณะกรรมการนวัตกรรม รพ.กลาง ประสบปัญหาเรื่องมุมมองในการคิดผลิตผลงานด้านนวัตกรรม ทำให้การผลิตผลงานยังอยู่ในวงจำกัดและชินกับสภาพปัญหาที่เจออยู่ทุกวัน ขณะนั้นคุณสุวดี สุขีนิตย์ (อดีตหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล รพ.กลาง) และดร.ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ ได้พบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ในการประกวดผลงานเรื่อง รถเข็นของปราศจากเชื้อของ  รพ.กลาง ที่ ม. ธรรมศาสตร์ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานคู่หูข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง นักออกแบบ และคุณพยาบาลร่วมกันสร้างสรรค์นวตกรรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ในวงการต่างๆมากมาย การเสวนาในครั้งนี้ได้เล่าถึงกระบวนการการคิด และขั้นตอนการทำงานของทีม คือ เริ่มต้นจากการหา GAP (โอกาสพัฒนา) ที่     นักออกแบบสามารถเข้ามาเสริมในการปฏิบัติงานของคุณพยาบาลให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ  สะดวก  รวดเร็ว เช่น ผลงาน Eco Scrap Book พร้อมอุปกรณ์ เป็นการนำของเหลือใช้ในโรงพยาบาลและเศษกระดาษสาจากชุมชน มาออกแบบให้คนป่วยที่นอนโรงพยาบาล และญาติที่มาเฝ้าได้ทำกิจกรรม เพื่อการผ่อนคลายผ่าน Eco Scrap Book ในการระบายความรู้สึกผ่านทางสมุดเล่มเล็กๆ   ซึ่งสื่อความหมายการเยียวยาทางด้านจิตวิญญาณของการพยาบาลนอกจากการรักษาความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายแล้ว แนวคิดการสร้าง Scrap  Book เริ่มจากการจุดประกายความคิดว่าคนป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานๆ เขาทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง เพื่อการผ่อนคลาย

 

001.jpg

นอกจากนี้ยังมีผลงานอีกมากมาย ตั้งแต่ผลงานชิ้นเล็กๆ ถึง ผลงานชิ้นใหญ่ๆ เช่น

Glove (อุปกรณ์ป้องกันการดึงของผู้ป่วย)

002.png


Smart step (รองเท้าสุขภาพ)

003.png

Elderly tableware (ชุดอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุ)

004.png 005.png 006.jpg

ริเริ่มจากการคุย คิด จด เตือนกัน  เติมเต็มซึ่งกันและกัน  วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา  ครั้งแรกที่ทีมทำงานด้วยกันก็ประสบปัญหาเรื่อง research funding หรือ เงินทุนที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม ก็แก้ปัญหาโดยการออกเงินเอง  และเราเชื่อว่าผลงานของเราสามารถสร้างมูลค่าและขายทำกำไรได้ ทางทีมได้หักค่าใช้จ่ายของแต่ละผลงานและเปิดบัญชีเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการผลิตนวัตกรรมชิ้นต่อไป  จะมีเพียงผลงานของ Elderly tableware version ที่ 2 ที่สามารถขอทุนจาก KURDI (Kasetsart University Research and Development Insititue) ในการทำงานวิจัย  โดยผลงาน Elderly tableware version ที่ 1 ก็ลงทุนด้วยเงินส่วนตัว 400,000 บาท   การขอทุนวิจัยสนับสนุนจากหน่วยราชการอื่นๆ เราต้องมั่นใจว่าผลงานของเราเยี่ยม  ไม่ต้องกลัวใครมาลอกเลียนแบบ  ถ้าคนอื่นสามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายแสดงว่าเราไม่ควรทำนวัตกรรมชิ้นนั้นต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560  ทางโรงพยาบาลกลาง ได้รับโอกาสจาก อ.สิงห์ และ ดร.ภัทรารัตน์ ในการนำโครงการUpcycling ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มจากปัญหาขยะที่มีการทิ้งให้สูญเปล่า นำเข้ามาสู่กระบวนการออกแบบเชิงสร้างสรรค์จากของที่เหลือใช้   มาสร้างมูลค่าได้และขายได้   ซึ่งEco Scrap Book ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่า waste  ptoduct  ที่นำมาใช้กับ Elderly  needs

สุดท้ายนี้ ทางทีมฝากว่าเริ่มต้นจากการคิดนอกกรอบ การหา partners ที่ดีย่อมสามารถ backup  teams ด้วย โดยมีการทำงานเป็น Teamwork อย่างไม่หยุดนิ่ง   “ถ้าเราหยุดก็เท่ากับว่าเรากำลังถอยหลัง ”

ถอดบทความโดย เสาวลักษณ์ เหมะปัทมะ และสุชาดา ตรีสิงหวงศ์

้่

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา