X-Rays

Cardiac

C.T.

 

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 

Cardiac CT หรือ Cardiac Computed Tomography คือ การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ปัจจุบันเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลกลาง เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง(Multidetector Computed Tomography,MDCT) ซึ่งสามารถสร้างภาพได้ 40 ภาพต่อการหมุนหนึ่งรอบ ทำให้สามารถตรวจหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาได้ โดยเครื่องจะสร้างภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจที่มีขนาดเล็กได้คมชัด ทำให้เห็นรอยโรคได้ 


การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • Coronary CTA (Coronary Computed Tomographic Angiography)
  • Coronary Artery Calcification หรือ Calcium Score

 

 

Coronary CTA (Coronary Computed Tomographic Angiography)

เป็นการตรวจหัวใจเพื่อ

  • ตรวจว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันหรือไม่ (Coronary Artery Disease)
  • ติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (Post Coronary Bypass Graft)
  • ตรวจความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Anomalies)

การตรวจนี้ต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำขณะทำการตรวจ

 

 

Coronary Artery Calcification หรือ Calcium Score

                เป็นการวัดปริมาณแคลเซี่ยมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจซึ่งแสดงถึงภาวะ Atherosclerosis ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ Calcium score นี้สามารถใช้คาดคะเนการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ จึงเป็นการตรวจที่มีประโยชน์ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจแต่ไม่เคยมีอาการเจ็บหน้าอก โดย Calcium score ยิ่งสูงโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็สูงด้วย

              การตรวจนี้ไม่ต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกาย

              การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ผู้ป่วยจะได้รับรังสีเอกซ์ แต่ปริมาณน้อย เทียบเท่ากับปริมาณรังสีที่ได้รับตามธรรมชาติเป็นเวลา 3 ปี

 

                การตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน คือ การสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) ซึ่งต้องใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจโดยตรงเพื่อฉีดสารทึบรังสี การตรวจด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูงและสามารถทำการรักษาได้ทันที แต่มีค่าใช้จ่ายสูง มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผู้ป่วยต้องนอนพักในโรงพยาบาล การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการตรวจหลอดเลือดหัวใจ

 

Next>>>