ประวัติโรงพยาบาลกลาง


ในปี พ.ศ. 2432 ได้มีโรงพยาบาลเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งรักษาโรคทางกายทั่วไป และโรงพยาบาลเสียจริต หรือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน รักษาผู้ป่วยโรคทางจิต เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นประชาชนอยู่กันอย่างแออัด ไม่มีการจัดระเบียบที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย Highet.gif

ดังนั้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2440 สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศพระราชกำหนดสุขาภิบาลขึ้นเพื่อป้องกันโรคภัยและความสะอาดของบ้านเมือง โดยได้แต่งตั้ง นายแพทย์ พี.เอ. ไนติงเกล เป็นพนักงานแพทย์ใหญ่สุขาภิบาล ดูแลความสะอาดและป้องกันโรคภัยให้กับประชาชน และแต่งตั้งกัปตัน เยคาตอง เป็นนายช่างใหญ่สุขาภิบาล ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2440

หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อนุญาตให้สร้างโรงพยาบาลสำหรับรักษาหญิงโสเภณีในวันที่ 24 พฤษภาคม 2441 เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่เกิด


โรงพยาบาลพลตระเวน

กับประชาชนขึ้นที่หลังวัดพลับพลาไชย โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2441

เมื่อสร้างเรือนโรงพยาบาลเสร็จ กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลไม่มีงบประมาณ ในการดำเนินการต่อ โรงพยาบาลกรมพลตระเวนหรือโรงพยาบาลตำรวจในขณะนั้น ซึ่งมีเตียงรับผู้ป่วยเพียง12 เตียงเท่านั้น ได้มาขอเช่าเรือนโรงพยาบาลที่จะใช้รักษาหญิงโสเภณีของกรมสุขาภิบาล ซึ่งยังตอนนั้นยังไม่ได้เปิดให้บริการ   ดังนั้นเรือนโรงพยาบาลแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า โรงพยาบาลกรมพลตระเวน เปิดให้บริการแก่พลตระเวนและผู้ป่วยจากคดีต่างๆ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2443 โดยมีการเพิ่มเตียงรับผู้ป่วยเป็น 36 เตียง หลังจากเปิดให้บริการ ปรากฏว่าไม่เพียงแค่พลตระเวนและผู้ป่วยจากคดีต่างๆที่มารับการรักษาเท่านั้น แต่ยังมีพลเรือนมารับการรักษาอีกด้วยจึงทำให้งบประมาณที่ได้จากกระทรวงนครบาล ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ